คู่มือเทคนิคการดูแลรักษา
เครื่องพิมพ์Transfer Jet (DFT)
|
(สามารถกดเลือกหัวข้อที่ต้องการได้เลยค่ะ)
1.การเทสบันไดสี
|
2.การเวียนหมึกขาว
|
3.การดูแลหลังใช้งาน daily maintenance
|
4.ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องพิมพ์TJ
|
5.วิธีแก้ไขเมื่อฟิล์มชนหรือถูกับหัวพิมพ์
|
6.วิธีการอัดอากาศหัวพิมพ์
|
7.การถอดหัวพิมพ์ออกมาล้าง
|
8. การสั่งคลีนนิ่งล้างหัวพิมพ์ด้วยโปรแกรม Adjusment program |
|
|
1.การเทสบันไดสี เพื่อเช็คดูว่าหัวพิมพ์ของเราออกครบทุกช่องหรือไม่ ทำได้หลายวิธี
|
1.1 การเทสบันไดสีด้วยโปรแกรม Epson Adjustment Program โดยการกดปุ่ม print ในโหมด Nozzle Check
|
|
|
1.2 การเทสบันไดสีจากไดร์เวอร์L1800
- เข้า Control panel ----- View devices and printers
- คลิกขวาที่ปริ้นท์เตอร์ epson l1800
- เลือก Printing preferences
- เลือก ทดสอบการพิมพ์
|
|
1.3 สั่งเทสบันไดสีจากโปรแกรม Acrorip
|
- เปิดโปรแกรม Acrorip เลือกพอร์ตUSB L1800 ให้ถูกต้อง
- กดไปที่ ไฟล์------เทสบันได้สี (หรือกด F11)
- กดตกลงเพื่อพิมพ์
|
|
|
***ใช้ฟิล์มเก่าๆที่ลอกลายออกแล้ว หรือกระดาษเอ4ธรรมดาก็ได้นะครับ ถ้าหัวพิมพ์ออกครบจะเป็นแบบนี้ครับ สามารถพิมพ์งานได้ปกติ
|
|
|
***ถ้าเทสบันสีแล้วออกมาเป็นแบบนี้แสดงว่าหัวพิมพ์ออกไม่ดี เริ่มอุดตัน ให้ทำการสั่งคลีนระดับ2 (CL2) และเทสบันไดสีอีกทีนะครับ |
|
|
แต่ถ้าหากเทสบันไดสีแล้วออกไม่ครบนิดนึง สามารถลองพิมพ์งานดูก่อนได้เลยครับ ไม่มีผลต่องาน |
|
|
2.การเวียนหมึกขาว
หรือการดูดหมึกขาวจากตลับหมึกเพื่อไล่ตะกอนหมึกขาวจากตลับและท่อหมึก ทำก่อนใช้งานเครื่องในแต่ละวัน
|
|
|
|
|
เมื่อทำเสร็จให้สั่งคลีนนิ่งระดับ2 (CL2) และเทสบันไดสีก่อนพิมพ์งานจริง |
|
|
3.การดูแลหลังใช้งาน daily maintenance
|
3.1 ฟลัชชิ่งล้างน้ำหมึกออกจากอิ้งค์แคป และท่อทางเดินหมึก สามารถทำได้ทุกวันหลังเลิกใช้งาน เพื่อล้างคราบหมึกออกจากแคปปิ้งใต้หัวพิมพ์ ช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวพ่น |
- กดปุ่มปิดเครื่องด้านบน
- เลื่อนก้านสวิตช์ที่ด้านบนเครื่องพิมพ์มาที่เมนู F และกดปุ่มทางข้างเครื่องพิมพ์ด้านซ้ายมาที่ flushing
- กดปุ่ม Unlock และเลื่อนหัวพิมพ์ออกไปกลางเครื่อง
- ใช้สลิ้งดูดแอลกอฮอล์ใส่ให้เต็มสลิ้ง10cc
- ค่อยๆฉีดแอลกอฮอล์ลงในแคปปิ้ง พร้อมๆกับการกดปุ่ม Flushing เพื่อให้เครื่องพิมพ์ดูดแอลกอฮอล์ไหลเข้าไปล้างคราบหมึกที่ค้างในอิ้งค์แคปและท่อทางออกของหมึก (ใช้แอลกอฮอร์จะล้างหมึกได้ดีกว่าน้ำเปล่า)
- กดปุ่มFlushing ล้างย้ำๆจนท่อหมึกทิ้งใสสะอาด
- เมื่อเสร็จแล้ว ให้นำผ้าแห้งเช็ดยางปาดให้สะอาดด้วยนะครับ
- เลื่อนหัวพิมพ์เข้าที่เดิม และกดปุ่ม Lock (อย่าลืมนะ)
- เลื่อนก้านสวิตช์ด้านบนเครื่องพิมพ์มาที่ P และเปลี่ยนปุ่มด้านซ้ายเครื่องเป็น Print หลังจากนั้นกดเปิดเครื่องพิมพ์อีก1รอบ เพื่อให้หัวพิมพ์ล็อคเข้าที่อย่างสมบูรณ์
- เสร็จแล้วปิดเครื่องได้เลยครับ
|
|
|
วีดีโอต่อ |
|
|
|
4.ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องพิมพ์TJ |
4.1 การจัดวางเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง (ป้องกันปัญหาหัวพิมพ์ถูชนฟิล์ม)
|
- เครื่องพิมพ์จะต้องวางอยู่ในระดับเดียวกับโต๊ะรองพิมพ์ด้านหน้าเครื่อง และโรลฟีดด้านหลัง
- ขาลูกยางด้านล่างของทุกอย่าง จะต้องวางแตะกับโต๊ะหรือพื้น ดังภาพ
|
|
|
4.2 ก่อนใช้งานเครื่องควรเช็คระดับโต๊ะพิมพ์กับหัวพิมพ์ ให้แน่ใจก่อนว่าได้ระดับพอดีไม่ใกล้หรือไกลหัวพิมพ์จนเกินไป |
**ระยะที่พอดีกับการพิมพ์ หัวพิมพ์จะต้องห่างจากโต๊ะพิมพ์ 2-3 มิลลิเมตร เท่านั้น |
|
วิธีปรับเช็คระดับโต๊ะพิมพ์
- ทำการUnlock หัวพิมพ์ เลื่อนหัวพิมพ์ออกมาตรงกลางเครื่อง
- ก้มมองดูระดับโต๊ะพิมพ์ที่สอดเข้าด้านในเครื่อง กับระดับหัวพิมพ์ จะต้องมีระยะห่างกันอยู่ 2-3 mm.
- หากมีระยะที่ใกล้กันเกินไป ให้นำเหรียญบาทหรือวัสดุอะไรก็ได้ที่มีความหนาให้พอกับที่เราจะเพิ่มระยะห่าง มาวางใต้ขาลูกยางด้านนอกสุดของโต๊ะพิมพ์เพื่อให้ยกระดับด้านนอกของโต๊ะพิมพ์ให้สูงขึ้น และจะทำให้ปลายโต๊ะที่สอดเข้าไปด้านในเครื่องพิมพ์กดต่ำลง เพิ่มระยะห่างให้กับหัวพิมพ์และระดับโต๊ะ
- หากระยะห่างของหัวพิมพ์และโต๊ะพิมพ์มีความห่างกันมากเกินไป จะทำให่งานพิมพ์ไม่คมชัด ให้นำเหรียญหรือวัสดุอื่นๆรองใต้ขาโต๊ะด้านในเพื่อให้ปลายโต๊ะด้านในเชิดสูงขึ้น
** ทางบริษัทจะทำการตั้งระยะไว้ให้ลูกค้าอยู่แล้วครับ แต่ควรเช็คครั้งแรกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเครื่องพิมพ์
|
|
|
|
5.วิธีแก้ไขเมื่อฟิล์มชนหรือถูกับหัวพิมพ์
|
- อาการหัวพิมพ์ถูกับฟิล์ม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฟิล์มกระดกระหว่างทาง, ยกฟิล์มขณะพิมพ์, หัวพิมพ์ไม่ได้ระดับ และอื่นๆ
- เมื่อเกิดปัญหาหัวพิมพ์ถูกับฟิล์ม จะมีรอยเปื้อนลากยาวตามแนวขวาง หากเกิดขึ้นเราต้องรีบเช็ดคราบหมึกที่ไปติดกับหัวพิมพ์ออกในทันที ห้ามพิมพ์ต่อเด็ดขาด
|
|
เสร็จแล้วสั่งคลีนและเทสบันไดสีดูก่อนพิมพ์งานอีกที |
|
|
6.วิธีการอัดอากาศหัวพิมพ์
|
หากเราสั่งคลีนนิ่งในโปรแกรมและสียังออกไม่ครบ
การอัดอากาศเป็นวิธีแก้ปัญหาอาการอุดตันของหัวพิมพ์เบื่องต้น ให้เราอัดอากาศดูก่อนแล้วค่อยสั่งคลีนและเทสบันไดสีดูอีกทีนะครับ |
|
|
7.การถอดหัวพิมพ์ออกมาล้าง |
7.1 การแกะหัวพิมพ์ เมื่ออัดอากาศ แล้วสียังออกไม่ดี ให้เราถอดหัวพิมพ์ออกมาล้างดูได้เลยครับ วิธีนี้ต้องใช้ความระมัดระวังสูง แนะนำดูตคลิปการสอนให้เข้าใจทั้งหมดก่อนนะครับ
**แต่ถ้าหากท่านใดไม่มีความชำนาญหรือไม่เข้าใจในการแกะหรือล้างหัวพิมพ์ แนะนำให้ทีมช่างของเราล้างให้นะครับ
|
|
|
7.2 การล้างหัวพิมพ์ |
เมื่อแกะหัวพิมพ์ออกมาได้แล้วก็ลองฉีดล้างหัวพิมพ์ด้วยน้ำยาล้างหัวพิมพ์ชนิดพิเศษของทางเราดูครับ |
ต้องระวังช่องเสียบสายแพเปียกน้ำด้วยนะครับ หากเปียกน้ำอาจจะทำให้ช๊อตและพังเสียหายได้ |
|
**น้ำยาล้างหัวพิมพ์เราจะได้มีการทดสอบประสิทธิภาพในการล้างหัวพิมพ์มาหลายเจ้าครับ น้ำยาล้างหัวพิมพ์สำหรับDFT เครื่องเล็ก ที่เรามีจัดจำหน่ายเป็นตัวที่เราพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลจริง ราคาไม่แพงอีกด้วยครับ** |
|
7.3 การแช่หัวพิมพ์ |
เมื่อฉีดน้ำยาแล้วยังออกไม่ดี ให้เราแช่หัวพิมพ์ได้เลยครับ ต้องระวังเรื่องช่องเสียบสายแพโดนน้ำมากๆ ดูคลิปให้เข้าใจการทำทุกครั้งนะครับ |
|
|
|
|
8. การสั่งคลีนนิ่งล้างหัวพิมพ์ด้วยโปรแกรม Adjusment program |
การสั่งคลีนทำความสะอาดหัวพิมพ์ เราจะสั่งคลีนในโปรแกรม Adjusment program เท่านั้น..
สามารถสั่งคลีนได้3ระดับ คือ
- คลีนเบา CL1 (weak)
- คลีนกลาง CL2 (middle)
- คลีนหนัก CL3 (Strong)
|
***ห้ามใช้ Power Cleaning*** |
แนะนำให้ใช้ CL2 นะครับ |
|
|
|
สำคัญอย่าลืม !! เอาน้ำหมึกเสียที่อยู่ในขวดไปเททิ้งทุกวันด้วยนะครับ เพราะเรามีการคลีนทิ้งหมึกและฟลัชชิ่งทิ้งทุกวันอยู่แล้ว ขวดหมึกเสียจะเต็มเร็วมาก หากลืมทิ้ง จนน้ำหมึกล้นขวด ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้หมึกไหลย้อนเข้าเครื่อง หรือพิมพ์ไม่ออกเลยก็ได้นะครับ |
|
|
|
|
|
|
|
มีอะไรเพิ่มเติมจะรีบมาอัพเดทนะครับ.. |